กระดาษทำการ
ความหมายและประโยชน์ของกระดาษทำการ
1.1 ความหมายของกระดาษทำการ
ดุษฎี สงวนชาติ (2547:100) ได้อธิบายความหมายของกระดาษทำการ (Working
Paper หรือ Work Sheet)
เป็นกระดาษที่ผู้ทำบัญชีจัดทำข้นเพื่อช่วยในการจัดเตรียมข้อมูลในการนำเสนอผลงานทางบัญชีในเรื่องต่างๆ
สุพาดา สิริกุตตา (2543:62) อธิบายความหมายของกระดาษทำการ
(Work Sheet) เป็นเครื่องมือที่ช่วยนักบัญชี
ในการแบ่งแยกบัญชีต่างๆ
ในงบทดลองไปจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน
วชิระ บุณยเนตร (…… : 18) ได้อธิบายว่ากระดาษทำการก็เหมือนกระดาษทดที่กิจการใช้เพื่อหาตัวเลข
ในการทำงบการเงินได้เร็วขึ้น
จากนักวิชาการที่กล่าวมาแล้ว สรุปความหมายของกระดาษทำการ
กระดาษทำการ หมายถึง
การดาษร่างที่ผู้ทำบัญชีจัดทำขึ้นเพื่อช่วยเตรียมข้อมูลทางบัญชีในการจัดทำงบการเงินขึ้นและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำงบการเงินได้สะดวกและรวดเร็ว
ประโยชน์ของกระดาษทำการ
การจัดทำกระดาษทำการมีประโยชน์ต่อกิจการ ดังนี้
1.เพื่อให้เกิด
ความสะดวกและรวดเร็วในการทำงบการเงิน
2.ป้องกันการผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน
3.เพื่อให้เจ้าของงกิจการทราบผลการดำเนินงานของกิจการว่าเกิดผลกำไรสุทธิ
หรือผลขาดทุนสุทธิ
4.เพื่อให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการในเบื้องต้นเป็นระยะๆ
5.ช่วยในการปรับปรุงและปิดบัญชีรายได้
และบัญชีค่าใช้จ่ายเกิดความถูกต้องก่อนจัดทำงบการเงินเงื่อนสิ้นสุดงวดบัญชีแต้ละงวด
ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับจากการทำกระดาษทำการ มีดังนี้
1.
ช่วยในการสวางแผน
ละควบคุมในการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี
2.
ช่วยในการพิจารณาด้านภาษีอากรของกิจการ
3.
ช่วยในการประเมินผลงาน
รูปแบบของกระดาษทำการ
กระดาษทำการมีแบบฟอร์มซึ่งช่องจำนวนเงิน เดบิต และเครดิต
อยู่หลายคู่โดยแบ่งรูปแบบของกระดาษทำการตามลักษณะของความต้องการของข้อมูลเพื่อทำงบการเงินได้หลายชนิด
เช่น
-
กระดาษทำการ 6 ช่อง
ประกอบด้วยช่องจำนวนเงินเดบิต และเครดิต แต่ละคู่ของงบทดลอง (Trial
Balance) งบกำไรขาดทุน (Income Statement) และงบแสดงฐานะการเงิน(Statement
of Financial Position)
-
กระดาษทำการ 8 ช่อง ประกอบด้วยช่องจำนวนเงินเดบิต
และเครดิต แต่ละคู่ของงบทดลองก่อนปรับปรุง (Unadjusted Trial Balance) รายงานการปรับปรุง (Adjusting Entries) งบกำไรขาดทุน
และงบแสดงฐานะการเงิน
-
การดาษทำการ 10 ช่อง
ประกอบด้วยช่องจำนวนเงินเดบิต และเครดิต แต่ละคู่ของงบทดลองก่อนปรับปรุง
รายการปรับปรุง งบทดลองหลังปรับปรุง (Adjusting Trial Balance ) งบกำขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน
กระดาษทำการ 6
ช่องเหมาะหรับการเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในการทำงบการเงิน
เพื่อให้ทราบผลกสนดำเนินงาน และฐานะการเงิน ตามช่วงระยะเวลาก่อนทำการปิดบัญชี
เมื่อสิ้นงวดบัญชีแบบฟอร์มกระดาษทำการ 6 ช่อง มีลักษณะดังนี้
คำอธิบายแบบฟอร์มกระดาษทำการ 6 ช่อง
มีดังนี้
1.ส่วนหัวของกระดาษทำการประกอบด้วย ชื่อกิจการ
คำว่า “ กระดาษทำการ
“ และระยะเวลาในการจัดทำกระดาษทำการซึ้งใช้คำว่า สำหรับ
1 เดือน หรือ 1 ปี
ฯลฯ สิ้นสุด วันที่......เดือน.......พ.ศ......
2.ตัวกระดาษทำการซึ่งจะต้องนำชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีจากการจัดทำงบทดลองมาใส่ในส่วนนี้
3.เป็นที่บันทึกจำนวนเงินจากยอดคงเหลือเดบิต หรือเครดิตของบัญชีต่างๆ ที่นำมาจัดทำไว้ในหมายเลข 2 คือช่องแบบฟอร์มที่บันทึกชื่อประเภท
4.เป็นช่องสำหรับบัญชีประเภทต่างๆ ที่นำมาใส่ไว้ในหมายเลข 2
ของแบบฟอร์มกระดาษทำการซึ่งเป็นบัญชีที่เกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน คือบัญชีหมวดรายได้และค่าใช้จ่าย
โดยจะนำจำนวนเงินของยอดคงเหลือเดบิตหรือเครดิตมาใส่ในช่องหมายเลข 4
ของแบบฟอร์มกระดาษทำการ
5.เป็นช่องสำหรับบัญชีต่างๆ ที่นำมาใส่ไว้ในหมายเลข 2
ของแบบฟอร์มกระดาษทำการซึ่งเป็นบัญชีเกี่ยวกับงบแสดงฐานะการเงิน คือบัญชีหมวดสินทรัพย์ บันชีหมวดหนี้สิน
และทุนโดยจะนำจำนวนเงินของยอดคงเหลือเดบิตหรือเครดิตมาใส่ไว้ในช่องหมายเลข 5
ของแบบฟอร์มกระดาษทำการ
6.เป็นยอดรวมจำนวนเงินด้านเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน
7.ผลต่างที่แสดงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิโดยนำจำนวนเงินไปใส่ด้านเดบิตหรือเครดิตในช่องงบกำไรขาดทุน และช่องงบแสดงฐานะการเงิน
8.ยอดรวมจำนวนด้านเดบิตที่ต้องการเท่ากับด้านเครดิตในช่องงบกำไรขาดทุนและช่องงบแสดงฐานะการเงิน
ขั้นตอนและวิธีการทำกระดาษทำการ
3.1 ขั้นตอนการทำกระดาษทำการ
การจัดทำกระดาษทำการมีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
1. ขั้นแรดเขียนหัวกระดาษทำการ
2. ขั้นตอนการทำงบทดลองในกระดาษทำการ
3. ขั้นตอนการนำบัญชีต่างๆ มาแสดงในงบการเงินของกระดาษทำการ
4. ขั้นตอนการสรุปผลการดำเนินงานโดยแสดงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในกระดาษ
3.2 วิธีทำกระดาษทำงาน
1.
เขียนหัวกระดาษทำการซึ่งประกอบด้วย
- บรรทัดแรก
เขียนชื่อกิจการ
- บรรทัดที่สอง เขียนคำว่า “กระดาษทำการ”
- บรรทัดที่สาม
เขียนระยะเวลาที่ทำกระดาษทำการคือ สิ้นสุดวัน.....เดือน.....ปี.....ที่ทำกระดาษทำการ
2.
นำงบทดลองมาลอกใส่แบบฟอร์มกระดาษทำการในช่องงบทดลอง หรือนำยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทมาจัดทำงบทดลองในกระดาษทำการ
3.
นำบัญชีแต่ละหมวดในงบทดลองมาปรากฏจำนวนเงินในแบบฟอร์มกระดาษทำการช่องงบกำไรขาดทุน
และงบแสดงฐานะการเงินตามลำดับ
ดังนี้
3.1 บัญชีหมวดรายได้ นำตัวเลขไปปรากฏยอดในช่องงบกำไรขาดทุน ด้านเครดิต
3.2 บัญชีหมวดค่าใช้จ่ายนำตัวเลขไปปรากฏยอดในช่อง งบกำไรขาดทุน
ด้านเดบิต
3.3 บัญชีหมวดสินทรัพย์
นำตัวเลขไปปรากฏยอดในช่องงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเดบิต
3.4
บัญชีหมวดหนีสินนำตัวเลขไปปรากฏยอดในช่องงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเครดิต
3.5 บัญชีทุน นำตัวเลขไปปรากฏยอดในช่องงบแสดงฐานะการเงิน
3.6
บัญชีถอนใช้ส่วนตัวนำตัวเลขไปปรากฏยอดในช่องงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเดบิต
4. รวมยอดจำนวนเงินด้านเดบิต และเครดิตของงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน
5. หาผลต่างนำไปปรากฏยอดในงบกำไรขาดทุน
และงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้
5.1 ช่องงบกำไรขาดทุนถ้ายอดรวมเครดิต (รายได้)
มากกว่า ยอดรวมเดบิต (ค่าใช้จ่าย)
คือกำไรสุทธิ ให้เขียนคำว่า “กำไรสุทธิ” ไว้บรรทัดสุดท้ายในช่องชื่อบัญชี
หรือบรรทัดใต้ยอดรวมเงินแล้วนำจำนวนเงินไปปรากฏยอดด้านเดบิต ช่องงบกำไรขาดทุน พร้อมกับนำจำนวนเงินไปปรากฏยอดด้าน เครดิต
ช่องงบแสดงฐานะการเงิน
5.2 ช่องงบกำไรขาดทุนถ้ายอดรวมเดบิต (ค่าใช้จ่าย)
มากกว่ายอดรวมเครดิต (รายได้) คือ
ขาดทุนสุทธิ ให้เขียนคำว่า “ขาดทุนสุทธิ” ไว้บรรทัดสุดท้ายในช่องชื่อบัญชีแล้วนำจำนวนเงินไปปรากฏยอดด้านเครดิตช่องงบกำไรขาดทุน พร้อมกับนำจำนวนเงินไปปรากฏยอดด้านเดบิต ช่องงบแสดงฐานะการเงิน
6. รวมยอดด้านเดบิต และเครดิตในช่องงบกำไรขาดทุน
และช่องงบแสดงฐานะการเงินซึ่งจำนวนเงินจะต้องเท่ากันเสมอ
ตัวอย่าง การทำกระดาษทำการ 6 ช่อง กรณีที่มีผลกำไรจากการดำเนินงาน
ต่อไปนี้เป็นงบทดลองของร้านสมจิตการช่าง ให้ทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
กระดาษทำการขาดทุนสุทธิ งบฐานะการเงิน 4000 มาจากไหนหรอค่ะ
ตอบลบ